วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-thesis

ประวัติความเป็นมาของ E-thesis
เนื่องจากปัจจุบันมีการทำวิทยานิพนธ์เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ทำให้ไม่มีใครสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์นี้ไว้ได้ เทคโนโลยีก้าวหน้าทำและได้นำเทคโนโลยีมีใช้กับการศึกศึกษาทำให้มีผู้ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลวิทยานิพนธ์เหล่านี้ไว้ได้ ภายใต้ชื่อ E-Thesis ซึ่งปัจจุบันทำสามารถเป็นทางเลือกในการสืบค้นข้อมูลหรือ แนวทางในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ต่างให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฐานข้อมูล E-Thesis เป็นอีกฐานข้อมูลหนึ่งที่เหมาะกับท่านที่ต้องการค้นคว้าเพื่อการวิจัยและทำวิทยานิพนธ์เป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์ของ E-Thesis
1. เพื่อให้บริการและเผยแพร่ในการนำไปใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
2. เพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูลในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
3. เพื่อนโอกาสที่ให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกคน

เป้าหมายของ E-Thesis
E-thesis จะต้องช่วยให้บุคคลที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ได้สามารถค้นคว้าได้ทุกเมื่อและเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าใช้บริการมากที่สุด เพื่อบุคคลเหล่านั้นจะได้นำเอาแนวทางในการทำงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ได้งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่ดี และมีประสิทธฺภาพต่อไป

ข้อดี
1. เป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์มากในการทำงานวิชาการหรือวิจัย ฯลฯ
2. สามารถค้นหาข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3. การใช้งานไม่ขึ้นอยู่กับเวลาเปิดให้บริการของห้องสมุด
4. การค้นหาทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
5. การแสดงผลข้อมูลเป็นแบบ HTML File ดังนั้น การ Copy ข้อมูลไปใช้งานและการแก้ไขข้อมูลทำได้ง่าย 6. สามารถค้นหา อ่าน พิมพ์ จัดเก็บข้อมูลจากที่ใดก็ได้ที่มีจุดเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าห้องสมุด

ข้อเสีย
1. การเข้าดูบทคัดย่อ จะต้อง ทำผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน
2. ระบบขัดข้องบ่อย ทำให้ไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้
3. บทคัดย่อที่มีในฐานไม่ครอบคลุม ครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากเกิดปัญหาที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้จัดทำ เพราะข้อมูลที่สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จัดส่งข้อมูลให้ไม่ครบถ้วน
4. เมนู/เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เช่น เครื่องมือในกรองผลลัพธ์ให้น้อยหรือแคบลงไม่มี ทำให้บางครั้งค้นแล้วได้ผลลัพธ์ที่มากเกินไปและไม่ตรงกับความต้องการ

วิเคราะห์เหตุที่มี E-Thesis นั้น เกิดขึ้นมาสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันอย่างไร
E-Thesis นั้นมีความสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมากเลยที่เดียว เพราะปัจจุบันนี้การทำงานเกือบทุกอย่างมั้งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ต่าง ๆ ทั้งแบบสาย หรือแบบไร้สาย ทำให้ต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับปรุงใช้กับการศึกษาเช่น E-Thesis นี้ก้เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การเจริญรุ่งเรืองของโลกแห่เทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปรับปรุงแผนการสอนใหม่

แผนการสอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นเกี่ยวกับ Program Excel


1.จุดประสงค์เดิมมี 3 ข้อ ปรับเป็น 4 ข้อ ได้แก่
1.1 อธิบายประโยชน์ของโปรแกรม Excel ได้
1.2 อธิบายส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม Excel ได้
1.3 สามารถเปิด – ปิด โปรแกรม Excel ได้

1.4 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้


2. กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ก่อนการเข้าสู่บทเรียนหรือ การแนะนำตัว ควรให้นักเรียนทำกายบริหารก่อนเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว เพราะการอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทำให้เราเหนื่อยล้า และในการใช้นิ้ว ดังนั้นเราควรทำท่ากายบริหารที่ง่าย ๆ เช่น การนวดนิ้วทั้งห้านิ้ว หมุนคอ นวดไหล่ เป็นต้น


ขั้นสอน
ขั้นสอนเดิมมีอยู่ 6 ข้อ ปรับปรุงเพิ่มอีก 2 ข้อ ได้
1.ทดสอบก่อนเรียน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 7 – 8 คน
3 ให้นักเรียนได้ศึกษาใบความรู้เรื่องระบบปฏิบัติการใช้โปรแกรมเอ็กเซลล์
4.เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอธิบายประกอบใบความรู้ โปรแกรมเอ๊กเซลล์ ส่วนประกอบหน้าจอ คำชี้แจง แถบเครื่องมือ การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบกระดาษ และการบันทึกข้อมูลเป็นตัวอย่าง
5.ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์จริง
6.ทดสอบหลังเรียน
7.ประเมินผลการตอบคำถามในใบงาน

8.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สอบถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ ในเมนูต่าง ๆ

3.สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้
จากแผนการสอนเดิม สื่อการเรียนรู้จะเป็นใบความรู้ ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เฉย ๆ แต่ได้ปรับปรุงสื่อการเรียนรู้เพิ่มคือ ครูผู้สอนจัดทำ powerpoint เพื่อให้นักเรียนได้มีความสนใจมากขึ้นในการเรียน



วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์แผนการสอน

แผนการสอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อ นายธีระพงษ์ มุสะกะ (ตำแหน่ง อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านหนองแดง)

1. สาระสำคัญ
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้าน Electronic Speasheet ซึ่งทำงานภายใต้ระบบ Windows ที่รวมเอาความสามารถเด่น ๆ 3 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน คือ ด้าน Speasheet Graphic และ Database โดยมีคำชี้แจงและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้เลือกเป็นจำนวนมาก


2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายประโยชน์ของโปรแกรม Excel ได้
2.2 อธิบายส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม Excel ได้
2.3 สามารถเปิด – ปิด โปรแกรม Excel ได้


3. เนื้อหา
3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Program Excel และส่วนประกอบของหน้าจอ Program Excel
คำชี้แจง และแถบเครื่องมือ เมนูคำชี้แจง
3.2 ขั้นตอนการใช้ Program Excel, การตั้งค่าหน้ากระดาษ, การกำหนดระยะขอบกระดาษ
การบันทึกข้อมูล และการปิดแฟ้ม และออกจากโปรแกรม


4.กิจกรรมการเรียนการสอน/กระบวนการเรียนรู้


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูแนะนำนักเรียนในการใช้โปรแกรมเอ็กเซลล์จนคำชี้แจง และเมนูที่จำเป็นในการใช้ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อเด็กนักเรียนได้เข้าใจ และการพิมพ์งานเอกสารในโปรแกรมเอ๊กเซลล์ พร้อมใช้คำชี้แจงจากเมนูแฟ้ม ได้อย่างถูกต้อง และเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้สนทนากัน และสอบถามตามที่ไม่เข้าใจในส่วนต่าง ๆ

ขั้นสอน
1.ทดสอบก่อนเรียน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 7 – 8 คน
3.ให้นักเรียนได้ศึกษาใบความรู้เรื่องระบบปฏิบัติการใช้โปรแกรมเอ็กเซลล์
4.เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอธิบายประกอบใบความรู้ โปรแกรมเอ๊กเซลล์ ส่วนประกอบหน้าจอ คำชี้แจง แถบเครื่องมือ การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบกระดาษ และการบันทึกข้อมูลเป็นตัวอย่าง
5.ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์จริง
6.ทดสอบหลังเรียน


ขั้นสรุป ครูให้นักเรียนมารายงานตามที่ตัวเองเข้าใจในระบบปฏิบัติการพิมพ์งานจากโปรแกรมเอ็กเซลล์ใน เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในวันนี้เป็นรายบุคคล แล้วครูเป็นผู้ชี้แนะเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ และใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง ให้นักเรียนได้เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

5.สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้
5.1 ใบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการเรียกใช้ COPUTER
5.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
5.3 การพิมพ์เอกสารในโปรแกรมเอ๊กเซลล์ ในห้องเรียนคอมพิวเตอร์



ADDIE Model

ADDIE คือ กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการออกแบบตามรูปแบบ ADDIE (ADDIE Model) ซึ่งประกอบไปด้วย
Analysis (การวิเคราะห์)
Design (การออกแบบ)
Development (การพัฒนา)
Implementation (การนำไปใช้)
Evaluation (การประเมินผล)

ขอบข่ายการออกแบบนั้นมีต้นกำเนิดมาจากจิตวิทยาของการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง


หลักการออกแบบของ ADDIE model
มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis

2. ขั้นการออกแบบ Design
3. ขั้นการพัฒนา Development
4. ขั้นการนำไปใช้ Implementation
5. ขั้นการประเมินผล Evaluation

ขั้นตอนการพัฒนา ADDIE model
ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน
3. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. การวิเคราะห์เนื้อหา

ขั้นตอนการออกแบบ (Design)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน)ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน

ขั้นตอนการพัฒนา (Develop) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน
หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน

ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement)
การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนการออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน


วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชื่อนวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา พัฒนาเมื่อใด

1. ชื่อนวัตกรรม : การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากเพลงพื้นบ้านไตรตรึงษ์

2. ประเภทของนวัตกรรม : นวัตกรรมการเรียนการสอน

3. ผู้พัฒนา : นิชรา พรมประไพ

4. พัฒนาเมื่อ : 1 กรกฎาคม 2551


วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะของนวัตกรรม

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยตามลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้าน
ไตรตรึงษ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับขั้นตอนดังนี้


ขั้นที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้าน ไตรตรึงษ์


ขั้นที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์


1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี

2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่
2.1.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย ด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและด้านการวัดผลประเมินผล
2.1.2 ครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
2.2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2, 5/2, 6/2 โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ ปีการศึกษา 2550 ห้องละ 35 คน

3. ขอบเขตด้านตัวแปร
3.1 ความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

3.2 ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมฯ

1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ

2.ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์
ปีการศึกษา 2550 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /1, 5/1 และ 6/1 ห้องละ 35 คน
3.ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การสอนโดยใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย
นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์