วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชื่อนวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา พัฒนาเมื่อใด

1. ชื่อนวัตกรรม : การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากเพลงพื้นบ้านไตรตรึงษ์

2. ประเภทของนวัตกรรม : นวัตกรรมการเรียนการสอน

3. ผู้พัฒนา : นิชรา พรมประไพ

4. พัฒนาเมื่อ : 1 กรกฎาคม 2551


วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะของนวัตกรรม

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยตามลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้าน
ไตรตรึงษ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับขั้นตอนดังนี้


ขั้นที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้าน ไตรตรึงษ์


ขั้นที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์


1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี

2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่
2.1.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย ด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและด้านการวัดผลประเมินผล
2.1.2 ครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
2.2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2, 5/2, 6/2 โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ ปีการศึกษา 2550 ห้องละ 35 คน

3. ขอบเขตด้านตัวแปร
3.1 ความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

3.2 ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมฯ

1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ

2.ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์
ปีการศึกษา 2550 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /1, 5/1 และ 6/1 ห้องละ 35 คน
3.ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การสอนโดยใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย
นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรม

ภาษาไทย เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำชาติ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนานคู่กับชาติไทยหลายยุคหลายสมัย เมื่อพิจารณาในด้านคุณค่าของภาษาไทยฐะปะนีย์ นาครทรรพ ได้ประมวลไว้เป็นคำคล้องจอง 8 ประการ คือ ใช้เป็นสื่อกลางเสริมสร้างวัฒนธรรม สำแดงเอกลักษณ์ พิทักษ์เอกราช ประสาทวิทยา พัฒนาความคิดกอบกิจการงาน ประสานสามัคคี (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2539 : 142-150)


ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยเกิดจากการบริหารวิชาการที่ไม่ให้ความสำคัญแก่วิชาภาษาไทย หลักสูตรที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับเวลา ระบบการวัดผลที่ต้องให้นักเรียนสอบผ่านแบบเรียนไม่เหมาะสม ครูผู้สอนขาดศิลปะการสอนที่จะเอื้อให้ภาษาไทยสนุกสนานน่าสนใจพื้นฐานภาษาไทยในด้านต่างๆ ของนักเรียนส่วนใหญ่ค่อนข้างไม่ดี นักเรียนสนใจและให้ความสำคัญวิชาภาษาไทยน้อย สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ที่ประชุมเสนอว่า ควรฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ให้มากขึ้น จัดกิจกรรมประกวดแข่งขันต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนวิชาภาษาไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ เน้นให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและครูผู้สอนวิชาอื่นๆ ให้ส่งเสริมให้นักเรียนสนใจภาษาไทย และเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ครูต้องรักและภูมิใจภาษาไทย ทำตัวให้เป็นที่ศรัทธาของนักเรียน ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ โดยให้ตัวอย่างแสดงการวิเคราะห์ ฝึกให้นักเรียนหัดฟังเรื่องสั้น ๆ ง่าย ๆ ไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ฝึกให้สรุปประเด็นสำคัญที่ฟังโดยการให้พูดหรือเขียน ปรับปรุงหลักสูตร วิธีสอน แบบเรียน และอุปกรณ์การสอน ควรจัดให้มีศูนย์ผลิตอุปกรณ์การสอนภาษาไทย และใช้โสตทัศนศึกษาช่วยในการสอนควรจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องสมุดภาษาไทย จัดทำชุดการสอนเสริมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยจัดกิจกรรมนอกสถานที่


สำนักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2536 ทั่วประเทศด้วยแบบทดสอบความสามารถในการส่งสารและรับสาร พบว่า นักเรียนมีความสามารถในวิชาภาษาไทยระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายเขตการศึกษา พบว่า เขตการศึกษา 7 (จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งกำแพงเพชร) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าระดับประเทศ และได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารและครู สรุปได้ว่า ควรพัฒนาครูให้เห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทยมีความใฝ่รู้ สอนให้ตรงจุดประสงค์ วัดผลเชิงปฏิบัติ จัดกิจกรรมเสริมทักษะความสามารถของนักเรียนในการส่งสารให้มากขึ้น และใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาเสริมทักษะนักเรียน (สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2538 : 2 - 5)


จากปัญหาและข้อค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยจึงศึกษาค้นคว้าหาวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น โดยยึดเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2544 เป็นสำคัญ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ผลการนำไปทดลองใช้

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. จากการสอบถามความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรม
พื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏผลดังนี้


1.1 ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าทุกข้อรายการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายหน่วยการเรียนรู้ พบว่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วรรณกรรมพื้นบ้าน :สื่อสานคุณธรรม และหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ความงามของภาษาจากเพลงระบำ ก.ไก่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ฝึกออกเสียงคำด้วยเพลงระบำ ก.ไก่ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภูมิปัญญาทางภาษา : เครื่องมือพัฒนาทักษะการคิด อันดับที่ 3 คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ในด้านภาพรวมของนวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนภาษาไทย จากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด และทุกข้อรายการมีผลการประเมินว่าเหมาะสม โดยข้อรายการ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 3 มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ข้อที่ 13 มีการประเมินทั้งกระบวนการและผลงานนักเรียน และข้อที่ 14 ประเมินตามสภาพจริง ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 7 การจัดกิจกรรมสอดคล้องกับวัยของผู้เรียน ข้อที่ 10 มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และข้อที่ 11 สื่อและแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับวัยและความสามารถของผู้เรียน


1.2 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
มีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก และทุกข้อรายการมีผลการประเมินว่าเหมาะสม โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 3 มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น และข้อที่ 5 มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ รองลงมามี 2 ข้อ ได้แก่ข้อที่ 6 และ ข้อที่ 12 มีกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 10 มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย


2. หาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/ E2 )
ประสิทธิภาพ (E1/ E2 ) ของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 แยกเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อยได้ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 82.55/82.30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 82.25/80.60
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 80.70/80.15 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 83.30/86.20 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 80.55/80.30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 82.15/81.70

ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนและก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรม ฯ
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียน กับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ตอนที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ความคิดเห็นของผู้รายงาน

ข้อดีเด่น

1. ได้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสิทธิภาพ สำหรับครูผู้สอนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


2. เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่นสำหรับนักเรียนในระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป


ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน


1. ผู้สอนควรจัดทำสื่อประกอบการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านในรูปแบบอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แทนการใช้เอกสาร เพื่อให้สอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อมัลติมีเดีย
2. นำผลจากการวิจัย และกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ไปสร้างและพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น วัย และความสนใจของผู้เรียน


ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรนำนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ไปศึกษาวิจัยในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือกับการสอนด้วยคู่มือครู หรือการสอนเป็นคณะ เป็นต้น
2.ศึกษาเจตคติของนักเรียนในด้านความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
แนวคิดในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ก่อนและหลังการการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้าน
3.ศึกษาวิจัยข้อมูลของท้องถิ่นในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิปัญญาในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรค การทำอาหาร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนต่อไป

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นของการศึกษา

การศึกษานั้นมีความสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า แต่การการศึกษานั้นเริ่มต้นที่ไหนไม่มีใครที่จะบอกได้ อย่างถูกต้องแต่อย่างไรก็ตามในความคิดของข้าพเจ้า การศึกษาน่าจะเริ่มต้น จากครอบครัวหรือบ้านของเรานั้นเองเพราะบ้านเป็นสถานที่แรกที่สอนให้เรารู้จัก เดิน พูด อะไรต่าง ๆ สอนให้รู้จักผิด และถูกซึ่งมี พ่อ แม่ และญาติ ๆ เป็นครูที่ช่วยอบรมสั่งสอน ให้เราเป็นคนดี ก่อนที่จะส่งบุตรหลายไปเรียนที่โรงเรียนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Ipad

Ipad นวัตกรรมใหม่จากแอปเปิลที่ห่างจาก Iphone อยู่หลายขุม
คุณสมบัติที่เทพเอาการคือ ใช้ระบบปฏิบัติการ เว็บบราวเซอร์คือ Safari สามารถดูวีดีโอได้อย่างคมชัด ได้รับอรรถรสในการชมกันอย่างเต็มที่ไม่มีคีย์แพทมากวนใจ สามารถดูวีดีโอจากยูทูปในลักษณะฟุลสกรีน Full Screen มี app store มี Ibooks แผนที่โลกที่คมชัดสุดๆที่ถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียม มีอย่างอื่นอีกมากมาย ที่ห่างชั้นจาก Iphone หลา่ยขุมยิ่งนัก แต่ทว่าเรื่องนี้มันเป็นข่าวที่ดังมาก ที่สำนักพิมพ์ใหญ่อย่างไทยรัฐได้นำมาตีแผ่ โดยผมขอเรียบร้อยในสไตล์ของผมนะครับ
สตีฟ จอบส์ เปิดตัว “แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์” หรือ “iPad”กลางดึกที่ผ่านมา ราคาไม่โหด เริ่มต้น 499 ดอลลาร์ วันนี้ 29 มกราคม 2553 ราคาแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าห์เป็นเงิน32.8334 บาท ราคาตอนนี้ประมาณ 16,383.8666 บาท ซึ่งราคา Ipad ก็ถูกว่าไอโฟนหลายขุม ขายครั้งแรกเดือนมีนาคมที่สหรัฐฯ ส่วนประเทศอื่นรอหน้าร้อนนี้ได้สัมผัสแน่…
สำหรับคุณสมบัติของ iPad เปรียบเสมือนตัวเชื่อมระหว่าง iPhone กับ MacBook เป็นอุปกรณ์มัลติมีเดีย ที่สามารถเป็นได้ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อัลบั้มภาพถ่าย วิดีโอ เพลง การพิมพ์ข้อมูล วิดีโอเกมส์ รวมถึงสามารถใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ของ iPhone ได้ ทั้งนี้ iPad มาพร้อมหน้าจอสัมผัส LED-backlit ขนาด 9.7 นิ้ว โปรเซสเซอร์ 1 GHz ความละเอียด 1024×768 หน่วยความจำตั้งแต่ 16 , 32 และ 64 GB แบตเตอรี่ Lithium Ion สามารถใช้งานติดต่อได้ยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ขนาดโดยรวม 9.56 x7.47×0.5 นิ้ว หนักราว 1.5 ปอนด์ (0.68 กิโลกรัม) ครึ่งโลประมาณนั้น
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่จากค่าย Apple Inc. จะวางขายครั้งแรกในเดือนมีนาคม ที่สหรัฐอเมริกา สำหรับรุ่น WiFi เท่านั้น และมีกำหนดปล่อยตัวรุ่น WiFi + 3G ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ สำหรับราคาที่วางขายในตลาดประเทศอื่น สตีฟ จอบส์ ยังไม่เปิดเผยขณะนี้ แต่จะประกาศภายในช่วงฤดูร้อนปี 2553 แน่นอน