วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-thesis

ประวัติความเป็นมาของ E-thesis
เนื่องจากปัจจุบันมีการทำวิทยานิพนธ์เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ทำให้ไม่มีใครสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์นี้ไว้ได้ เทคโนโลยีก้าวหน้าทำและได้นำเทคโนโลยีมีใช้กับการศึกศึกษาทำให้มีผู้ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลวิทยานิพนธ์เหล่านี้ไว้ได้ ภายใต้ชื่อ E-Thesis ซึ่งปัจจุบันทำสามารถเป็นทางเลือกในการสืบค้นข้อมูลหรือ แนวทางในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ต่างให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฐานข้อมูล E-Thesis เป็นอีกฐานข้อมูลหนึ่งที่เหมาะกับท่านที่ต้องการค้นคว้าเพื่อการวิจัยและทำวิทยานิพนธ์เป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์ของ E-Thesis
1. เพื่อให้บริการและเผยแพร่ในการนำไปใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
2. เพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูลในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
3. เพื่อนโอกาสที่ให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกคน

เป้าหมายของ E-Thesis
E-thesis จะต้องช่วยให้บุคคลที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ได้สามารถค้นคว้าได้ทุกเมื่อและเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าใช้บริการมากที่สุด เพื่อบุคคลเหล่านั้นจะได้นำเอาแนวทางในการทำงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ได้งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่ดี และมีประสิทธฺภาพต่อไป

ข้อดี
1. เป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์มากในการทำงานวิชาการหรือวิจัย ฯลฯ
2. สามารถค้นหาข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3. การใช้งานไม่ขึ้นอยู่กับเวลาเปิดให้บริการของห้องสมุด
4. การค้นหาทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
5. การแสดงผลข้อมูลเป็นแบบ HTML File ดังนั้น การ Copy ข้อมูลไปใช้งานและการแก้ไขข้อมูลทำได้ง่าย 6. สามารถค้นหา อ่าน พิมพ์ จัดเก็บข้อมูลจากที่ใดก็ได้ที่มีจุดเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าห้องสมุด

ข้อเสีย
1. การเข้าดูบทคัดย่อ จะต้อง ทำผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน
2. ระบบขัดข้องบ่อย ทำให้ไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้
3. บทคัดย่อที่มีในฐานไม่ครอบคลุม ครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากเกิดปัญหาที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้จัดทำ เพราะข้อมูลที่สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จัดส่งข้อมูลให้ไม่ครบถ้วน
4. เมนู/เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เช่น เครื่องมือในกรองผลลัพธ์ให้น้อยหรือแคบลงไม่มี ทำให้บางครั้งค้นแล้วได้ผลลัพธ์ที่มากเกินไปและไม่ตรงกับความต้องการ

วิเคราะห์เหตุที่มี E-Thesis นั้น เกิดขึ้นมาสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันอย่างไร
E-Thesis นั้นมีความสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมากเลยที่เดียว เพราะปัจจุบันนี้การทำงานเกือบทุกอย่างมั้งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ต่าง ๆ ทั้งแบบสาย หรือแบบไร้สาย ทำให้ต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับปรุงใช้กับการศึกษาเช่น E-Thesis นี้ก้เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การเจริญรุ่งเรืองของโลกแห่เทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปรับปรุงแผนการสอนใหม่

แผนการสอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นเกี่ยวกับ Program Excel


1.จุดประสงค์เดิมมี 3 ข้อ ปรับเป็น 4 ข้อ ได้แก่
1.1 อธิบายประโยชน์ของโปรแกรม Excel ได้
1.2 อธิบายส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม Excel ได้
1.3 สามารถเปิด – ปิด โปรแกรม Excel ได้

1.4 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้


2. กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ก่อนการเข้าสู่บทเรียนหรือ การแนะนำตัว ควรให้นักเรียนทำกายบริหารก่อนเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว เพราะการอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทำให้เราเหนื่อยล้า และในการใช้นิ้ว ดังนั้นเราควรทำท่ากายบริหารที่ง่าย ๆ เช่น การนวดนิ้วทั้งห้านิ้ว หมุนคอ นวดไหล่ เป็นต้น


ขั้นสอน
ขั้นสอนเดิมมีอยู่ 6 ข้อ ปรับปรุงเพิ่มอีก 2 ข้อ ได้
1.ทดสอบก่อนเรียน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 7 – 8 คน
3 ให้นักเรียนได้ศึกษาใบความรู้เรื่องระบบปฏิบัติการใช้โปรแกรมเอ็กเซลล์
4.เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอธิบายประกอบใบความรู้ โปรแกรมเอ๊กเซลล์ ส่วนประกอบหน้าจอ คำชี้แจง แถบเครื่องมือ การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบกระดาษ และการบันทึกข้อมูลเป็นตัวอย่าง
5.ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์จริง
6.ทดสอบหลังเรียน
7.ประเมินผลการตอบคำถามในใบงาน

8.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สอบถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ ในเมนูต่าง ๆ

3.สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้
จากแผนการสอนเดิม สื่อการเรียนรู้จะเป็นใบความรู้ ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เฉย ๆ แต่ได้ปรับปรุงสื่อการเรียนรู้เพิ่มคือ ครูผู้สอนจัดทำ powerpoint เพื่อให้นักเรียนได้มีความสนใจมากขึ้นในการเรียน



วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์แผนการสอน

แผนการสอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อ นายธีระพงษ์ มุสะกะ (ตำแหน่ง อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านหนองแดง)

1. สาระสำคัญ
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้าน Electronic Speasheet ซึ่งทำงานภายใต้ระบบ Windows ที่รวมเอาความสามารถเด่น ๆ 3 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน คือ ด้าน Speasheet Graphic และ Database โดยมีคำชี้แจงและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้เลือกเป็นจำนวนมาก


2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายประโยชน์ของโปรแกรม Excel ได้
2.2 อธิบายส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม Excel ได้
2.3 สามารถเปิด – ปิด โปรแกรม Excel ได้


3. เนื้อหา
3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Program Excel และส่วนประกอบของหน้าจอ Program Excel
คำชี้แจง และแถบเครื่องมือ เมนูคำชี้แจง
3.2 ขั้นตอนการใช้ Program Excel, การตั้งค่าหน้ากระดาษ, การกำหนดระยะขอบกระดาษ
การบันทึกข้อมูล และการปิดแฟ้ม และออกจากโปรแกรม


4.กิจกรรมการเรียนการสอน/กระบวนการเรียนรู้


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูแนะนำนักเรียนในการใช้โปรแกรมเอ็กเซลล์จนคำชี้แจง และเมนูที่จำเป็นในการใช้ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อเด็กนักเรียนได้เข้าใจ และการพิมพ์งานเอกสารในโปรแกรมเอ๊กเซลล์ พร้อมใช้คำชี้แจงจากเมนูแฟ้ม ได้อย่างถูกต้อง และเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้สนทนากัน และสอบถามตามที่ไม่เข้าใจในส่วนต่าง ๆ

ขั้นสอน
1.ทดสอบก่อนเรียน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 7 – 8 คน
3.ให้นักเรียนได้ศึกษาใบความรู้เรื่องระบบปฏิบัติการใช้โปรแกรมเอ็กเซลล์
4.เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอธิบายประกอบใบความรู้ โปรแกรมเอ๊กเซลล์ ส่วนประกอบหน้าจอ คำชี้แจง แถบเครื่องมือ การตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบกระดาษ และการบันทึกข้อมูลเป็นตัวอย่าง
5.ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์จริง
6.ทดสอบหลังเรียน


ขั้นสรุป ครูให้นักเรียนมารายงานตามที่ตัวเองเข้าใจในระบบปฏิบัติการพิมพ์งานจากโปรแกรมเอ็กเซลล์ใน เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในวันนี้เป็นรายบุคคล แล้วครูเป็นผู้ชี้แนะเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ และใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง ให้นักเรียนได้เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

5.สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้
5.1 ใบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการเรียกใช้ COPUTER
5.2 เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
5.3 การพิมพ์เอกสารในโปรแกรมเอ๊กเซลล์ ในห้องเรียนคอมพิวเตอร์



ADDIE Model

ADDIE คือ กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการออกแบบตามรูปแบบ ADDIE (ADDIE Model) ซึ่งประกอบไปด้วย
Analysis (การวิเคราะห์)
Design (การออกแบบ)
Development (การพัฒนา)
Implementation (การนำไปใช้)
Evaluation (การประเมินผล)

ขอบข่ายการออกแบบนั้นมีต้นกำเนิดมาจากจิตวิทยาของการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง


หลักการออกแบบของ ADDIE model
มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis

2. ขั้นการออกแบบ Design
3. ขั้นการพัฒนา Development
4. ขั้นการนำไปใช้ Implementation
5. ขั้นการประเมินผล Evaluation

ขั้นตอนการพัฒนา ADDIE model
ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน
3. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. การวิเคราะห์เนื้อหา

ขั้นตอนการออกแบบ (Design)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน)ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน

ขั้นตอนการพัฒนา (Develop) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน)ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน
หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน

ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement)
การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนการออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน


วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชื่อนวัตกรรม ประเภท ผู้พัฒนา พัฒนาเมื่อใด

1. ชื่อนวัตกรรม : การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากเพลงพื้นบ้านไตรตรึงษ์

2. ประเภทของนวัตกรรม : นวัตกรรมการเรียนการสอน

3. ผู้พัฒนา : นิชรา พรมประไพ

4. พัฒนาเมื่อ : 1 กรกฎาคม 2551


วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะของนวัตกรรม

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยตามลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้าน
ไตรตรึงษ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับขั้นตอนดังนี้


ขั้นที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้าน ไตรตรึงษ์


ขั้นที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์


1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี

2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่
2.1.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย ด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและด้านการวัดผลประเมินผล
2.1.2 ครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
2.2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2, 5/2, 6/2 โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ ปีการศึกษา 2550 ห้องละ 35 คน

3. ขอบเขตด้านตัวแปร
3.1 ความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

3.2 ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมฯ

1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ

2.ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์
ปีการศึกษา 2550 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /1, 5/1 และ 6/1 ห้องละ 35 คน
3.ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การสอนโดยใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย
นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรม

ภาษาไทย เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำชาติ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนานคู่กับชาติไทยหลายยุคหลายสมัย เมื่อพิจารณาในด้านคุณค่าของภาษาไทยฐะปะนีย์ นาครทรรพ ได้ประมวลไว้เป็นคำคล้องจอง 8 ประการ คือ ใช้เป็นสื่อกลางเสริมสร้างวัฒนธรรม สำแดงเอกลักษณ์ พิทักษ์เอกราช ประสาทวิทยา พัฒนาความคิดกอบกิจการงาน ประสานสามัคคี (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2539 : 142-150)


ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยเกิดจากการบริหารวิชาการที่ไม่ให้ความสำคัญแก่วิชาภาษาไทย หลักสูตรที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับเวลา ระบบการวัดผลที่ต้องให้นักเรียนสอบผ่านแบบเรียนไม่เหมาะสม ครูผู้สอนขาดศิลปะการสอนที่จะเอื้อให้ภาษาไทยสนุกสนานน่าสนใจพื้นฐานภาษาไทยในด้านต่างๆ ของนักเรียนส่วนใหญ่ค่อนข้างไม่ดี นักเรียนสนใจและให้ความสำคัญวิชาภาษาไทยน้อย สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ที่ประชุมเสนอว่า ควรฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ให้มากขึ้น จัดกิจกรรมประกวดแข่งขันต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนวิชาภาษาไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ เน้นให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและครูผู้สอนวิชาอื่นๆ ให้ส่งเสริมให้นักเรียนสนใจภาษาไทย และเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ครูต้องรักและภูมิใจภาษาไทย ทำตัวให้เป็นที่ศรัทธาของนักเรียน ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ โดยให้ตัวอย่างแสดงการวิเคราะห์ ฝึกให้นักเรียนหัดฟังเรื่องสั้น ๆ ง่าย ๆ ไปสู่เรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ฝึกให้สรุปประเด็นสำคัญที่ฟังโดยการให้พูดหรือเขียน ปรับปรุงหลักสูตร วิธีสอน แบบเรียน และอุปกรณ์การสอน ควรจัดให้มีศูนย์ผลิตอุปกรณ์การสอนภาษาไทย และใช้โสตทัศนศึกษาช่วยในการสอนควรจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องสมุดภาษาไทย จัดทำชุดการสอนเสริมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยจัดกิจกรรมนอกสถานที่


สำนักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2536 ทั่วประเทศด้วยแบบทดสอบความสามารถในการส่งสารและรับสาร พบว่า นักเรียนมีความสามารถในวิชาภาษาไทยระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายเขตการศึกษา พบว่า เขตการศึกษา 7 (จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งกำแพงเพชร) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าระดับประเทศ และได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารและครู สรุปได้ว่า ควรพัฒนาครูให้เห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทยมีความใฝ่รู้ สอนให้ตรงจุดประสงค์ วัดผลเชิงปฏิบัติ จัดกิจกรรมเสริมทักษะความสามารถของนักเรียนในการส่งสารให้มากขึ้น และใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาเสริมทักษะนักเรียน (สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2538 : 2 - 5)


จากปัญหาและข้อค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยจึงศึกษาค้นคว้าหาวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น โดยยึดเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2544 เป็นสำคัญ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ผลการนำไปทดลองใช้

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. จากการสอบถามความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรม
พื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏผลดังนี้


1.1 ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าทุกข้อรายการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายหน่วยการเรียนรู้ พบว่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วรรณกรรมพื้นบ้าน :สื่อสานคุณธรรม และหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ความงามของภาษาจากเพลงระบำ ก.ไก่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ฝึกออกเสียงคำด้วยเพลงระบำ ก.ไก่ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภูมิปัญญาทางภาษา : เครื่องมือพัฒนาทักษะการคิด อันดับที่ 3 คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ในด้านภาพรวมของนวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนภาษาไทย จากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด และทุกข้อรายการมีผลการประเมินว่าเหมาะสม โดยข้อรายการ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 3 มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ข้อที่ 13 มีการประเมินทั้งกระบวนการและผลงานนักเรียน และข้อที่ 14 ประเมินตามสภาพจริง ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 7 การจัดกิจกรรมสอดคล้องกับวัยของผู้เรียน ข้อที่ 10 มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และข้อที่ 11 สื่อและแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับวัยและความสามารถของผู้เรียน


1.2 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
มีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก และทุกข้อรายการมีผลการประเมินว่าเหมาะสม โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 3 มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น และข้อที่ 5 มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ รองลงมามี 2 ข้อ ได้แก่ข้อที่ 6 และ ข้อที่ 12 มีกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 10 มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย


2. หาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/ E2 )
ประสิทธิภาพ (E1/ E2 ) ของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 แยกเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อยได้ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 82.55/82.30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 82.25/80.60
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 80.70/80.15 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 83.30/86.20 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 80.55/80.30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 82.15/81.70

ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนและก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรม ฯ
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียน กับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ตอนที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ความคิดเห็นของผู้รายงาน

ข้อดีเด่น

1. ได้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสิทธิภาพ สำหรับครูผู้สอนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


2. เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่นสำหรับนักเรียนในระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป


ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน


1. ผู้สอนควรจัดทำสื่อประกอบการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านในรูปแบบอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แทนการใช้เอกสาร เพื่อให้สอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อมัลติมีเดีย
2. นำผลจากการวิจัย และกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ไปสร้างและพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น วัย และความสนใจของผู้เรียน


ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรนำนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ไปศึกษาวิจัยในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือกับการสอนด้วยคู่มือครู หรือการสอนเป็นคณะ เป็นต้น
2.ศึกษาเจตคติของนักเรียนในด้านความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
แนวคิดในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ก่อนและหลังการการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้าน
3.ศึกษาวิจัยข้อมูลของท้องถิ่นในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิปัญญาในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรค การทำอาหาร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนต่อไป

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นของการศึกษา

การศึกษานั้นมีความสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า แต่การการศึกษานั้นเริ่มต้นที่ไหนไม่มีใครที่จะบอกได้ อย่างถูกต้องแต่อย่างไรก็ตามในความคิดของข้าพเจ้า การศึกษาน่าจะเริ่มต้น จากครอบครัวหรือบ้านของเรานั้นเองเพราะบ้านเป็นสถานที่แรกที่สอนให้เรารู้จัก เดิน พูด อะไรต่าง ๆ สอนให้รู้จักผิด และถูกซึ่งมี พ่อ แม่ และญาติ ๆ เป็นครูที่ช่วยอบรมสั่งสอน ให้เราเป็นคนดี ก่อนที่จะส่งบุตรหลายไปเรียนที่โรงเรียนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Ipad

Ipad นวัตกรรมใหม่จากแอปเปิลที่ห่างจาก Iphone อยู่หลายขุม
คุณสมบัติที่เทพเอาการคือ ใช้ระบบปฏิบัติการ เว็บบราวเซอร์คือ Safari สามารถดูวีดีโอได้อย่างคมชัด ได้รับอรรถรสในการชมกันอย่างเต็มที่ไม่มีคีย์แพทมากวนใจ สามารถดูวีดีโอจากยูทูปในลักษณะฟุลสกรีน Full Screen มี app store มี Ibooks แผนที่โลกที่คมชัดสุดๆที่ถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียม มีอย่างอื่นอีกมากมาย ที่ห่างชั้นจาก Iphone หลา่ยขุมยิ่งนัก แต่ทว่าเรื่องนี้มันเป็นข่าวที่ดังมาก ที่สำนักพิมพ์ใหญ่อย่างไทยรัฐได้นำมาตีแผ่ โดยผมขอเรียบร้อยในสไตล์ของผมนะครับ
สตีฟ จอบส์ เปิดตัว “แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์” หรือ “iPad”กลางดึกที่ผ่านมา ราคาไม่โหด เริ่มต้น 499 ดอลลาร์ วันนี้ 29 มกราคม 2553 ราคาแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าห์เป็นเงิน32.8334 บาท ราคาตอนนี้ประมาณ 16,383.8666 บาท ซึ่งราคา Ipad ก็ถูกว่าไอโฟนหลายขุม ขายครั้งแรกเดือนมีนาคมที่สหรัฐฯ ส่วนประเทศอื่นรอหน้าร้อนนี้ได้สัมผัสแน่…
สำหรับคุณสมบัติของ iPad เปรียบเสมือนตัวเชื่อมระหว่าง iPhone กับ MacBook เป็นอุปกรณ์มัลติมีเดีย ที่สามารถเป็นได้ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อัลบั้มภาพถ่าย วิดีโอ เพลง การพิมพ์ข้อมูล วิดีโอเกมส์ รวมถึงสามารถใช้ร่วมกับแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ของ iPhone ได้ ทั้งนี้ iPad มาพร้อมหน้าจอสัมผัส LED-backlit ขนาด 9.7 นิ้ว โปรเซสเซอร์ 1 GHz ความละเอียด 1024×768 หน่วยความจำตั้งแต่ 16 , 32 และ 64 GB แบตเตอรี่ Lithium Ion สามารถใช้งานติดต่อได้ยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ขนาดโดยรวม 9.56 x7.47×0.5 นิ้ว หนักราว 1.5 ปอนด์ (0.68 กิโลกรัม) ครึ่งโลประมาณนั้น
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่จากค่าย Apple Inc. จะวางขายครั้งแรกในเดือนมีนาคม ที่สหรัฐอเมริกา สำหรับรุ่น WiFi เท่านั้น และมีกำหนดปล่อยตัวรุ่น WiFi + 3G ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ สำหรับราคาที่วางขายในตลาดประเทศอื่น สตีฟ จอบส์ ยังไม่เปิดเผยขณะนี้ แต่จะประกาศภายในช่วงฤดูร้อนปี 2553 แน่นอน

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

CCTV อัจฉริยะ Dinion 2X

บ๊อช เดินหน้าทำตลาดระบบรักษาความปลอดภัย คาดครึ่งปีหลัง 2553 ตลาดยังมีการเติบโตต่อเนื่อง พร้อมขยายตลาดด้วยการส่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ CCTV อัจฉริยะ Dinion 2X ระบบโทรทัศน์วงจรปิดที่เหมาะสำหรับสถานที่ที่มีแสงน้อย หรือสถานที่กลางแจ้งที่มีการปรับเปลี่ยนของระดับแสงอยู่ตลอดเวลา และต้องการภาพที่มีความละเอียดสูง ส่วนระบบเสียงประกาศสาธารณะ ลำโพง Vari-Directional Array ควบคุมการทำงานด้วยระบบดิจิตอล ให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจน ติดตั้งได้ง่าย และตรงตามข้อกำหนดของ EVAC ที่ทั่วโลกยอมรับ
ว่าที่ร้อยตรีสมาน ทาโคตร ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัย บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มตลาดของผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยว่ายังเติบโต ได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับผลกระทบอยู่บ้างจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมา ทั้งนี้บ๊อชได้มีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดโดยรวม ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ออกสู่ตลาด 2 ระบบ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด CCTV Dinion 2X กล้องอัจฉริยะรุ่นใหม่ สามารถทำงานและถ่ายภาพได้ในทุกสภาวะแสง โดยกล้องดังกล่าวใช้ CCD รุ่นพิเศษที่ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อใช้งานร่วมกับหน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิตอล 20 บิท ที่บ๊อชได้ออกแบบขึ้นใหม่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีกว่ากล้องรุ่นเดิมได้กว่า 32 เท่า ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้นในสภาวะที่มีแสงน้อย และในสถานที่ที่ต้องการภาพที่มีความละเอียดสูง เช่น ลานจอดรถกลางแจ้ง บริเวณรอบนอกอาคาร บริเวณทางเข้าออกของอาคาร และสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัย ในระดับสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ Dinion 2X ใหม่ยังมีคุณสมบัติพิเศษ Smart Backlight Compensation (Smart BLC) สามารถให้ระดับแสงที่เหมาะสมสำหรับจุดที่ต้องการถ่ายภาพในบริเวณที่มีความแตกต่างของแสงสูงเช่นบริเวณทางเข้าออกของอาคาร โดยระบบ Smart BLC จะวิเคราะห์ภาพโดยอัตโนมัติและช่วยเพิ่มรายละเอียดของภาพให้ชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถถ่ายภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืน
สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่อีกรายการที่บ๊อชเปิดตัว ได้แก่ชุดลำโพง Vari-directional Array ของระบบเสียงประกาศสาธารณะ เป็นชุดเครื่องเสียงรุ่นใหม่ที่ผสานสุดยอดคุณภาพเสียงเข้ากับรูปแบบการกระจายของเสียงที่ให้ระดับความดังที่สม่ำเสมอในระยะไกลสูงสุดถึง 50 เมตร ควบคุมทิศทางของเสียงด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งทำให้เสียงถูกส่งไปในทิศทางที่จะก่อให้เกิดคุณภาพเสียงที่ชัดเจนสูงสุด ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ปกติ เช่น สถานีรถไฟ สนามบิน และศาสนสถานต่างๆ จะใช้วัสดุก่อสร้างที่มีความ-แข็ง สามารถดูดซับเสียงได้น้อย ทำให้เกิดเสียงก้องสะท้อน แต่ด้วยระบบควบคุมทิศทางของเสียงรุ่นใหม่ของบ๊อชสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และให้คุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมในสภาวะที่ยากต่อการ ได้ยินเสียง
ทั้งนี้ลำโพง Vari-directional Array ยังถูกออกแบบให้ตรงตามข้อกำหนดมาตรฐาน EVAC ทุกประการ และทำงานร่วมกับอุปกรณ์ระบบเสียงอื่นๆของบ๊อซ เช่น ชุดควบคุมระบบเสียง เครื่องขยายเสียง ไมโครโฟนประกาศ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สำหรับตัวเลขภาพรวมของตลาดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบ๊อช สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนระบบรักษาความปลอดภัย ได้แก่ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ระบบเตือนการบุกรุก ระบบเตือนอัคคีภัย ระบบควบคุมการเข้า-ออก ระบบบริหารอาคารอัจฉริยะ ซึ่งตัวเลขภาพรวมของตลาดกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 4,800 ล้านบาท อีกส่วนคือระบบสื่อสาร ได้แก่ ระบบชุดประชุม ระบบเสียงประกาศสาธารณะ ระบบเสียงและสื่อสาร ซึ่งตัวเลขภาพรวมของตลาดอยู่ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาทเช่นกัน

ประวัติส่วนตัว

นางสาวเดือนเพ็ญ แก้วนิคม ชื่อเล่น แอม

เกิด 2 กุมภาพันธ์ 2531

กำลังศึกษาอยูในระดับบัณฑิตศึกษา

สาขา วิชาชีพครู

มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม

E-mail : am_khom@hotmail.com