วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์


1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี

2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่
2.1.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย ด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและด้านการวัดผลประเมินผล
2.1.2 ครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
2.2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2, 5/2, 6/2 โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ ปีการศึกษา 2550 ห้องละ 35 คน

3. ขอบเขตด้านตัวแปร
3.1 ความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

3.2 ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมฯ

1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่พัฒนาเป็นนวัตกรรมการสอนภาษาไทยครั้งนี้ ได้มาจากการศึกษาวิจัยวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ แล้วนำวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมาใช้จัดการเรียนการสอน
ในมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม 5.1 ข้อ 3 “ ศึกษารวบรวม วรรณกรรมพื้นบ้าน เข้าใจความหมายของภาษาถิ่น สำนวน ภาษิต วิเคราะห์คุณค่าทางภาษา และสังคม” โดยบูรณาการกับสาระ อื่น ๆ ในมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู การพูด สาระที่ 4 หลักและการใช้ภาษา และบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ

2.ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครไตรตรึงษ์
ปีการศึกษา 2550 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 /1, 5/1 และ 6/1 ห้องละ 35 คน
3.ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การสอนโดยใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย
นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น