วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความคิดเห็นของผู้รายงาน

ข้อดีเด่น

1. ได้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสิทธิภาพ สำหรับครูผู้สอนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


2. เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของท้องถิ่นสำหรับนักเรียนในระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป


ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน


1. ผู้สอนควรจัดทำสื่อประกอบการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้านในรูปแบบอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แทนการใช้เอกสาร เพื่อให้สอดคล้องกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อมัลติมีเดีย
2. นำผลจากการวิจัย และกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ไปสร้างและพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น วัย และความสนใจของผู้เรียน


ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรนำนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
ไปศึกษาวิจัยในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เปรียบเทียบกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือกับการสอนด้วยคู่มือครู หรือการสอนเป็นคณะ เป็นต้น
2.ศึกษาเจตคติของนักเรียนในด้านความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
แนวคิดในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ก่อนและหลังการการสอนภาษาไทยจาก
วรรณกรรมพื้นบ้าน
3.ศึกษาวิจัยข้อมูลของท้องถิ่นในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิปัญญาในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรค การทำอาหาร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น