วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผลการนำไปทดลองใช้

ตอนที่ 1 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. จากการสอบถามความเหมาะสมของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรม
พื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏผลดังนี้


1.1 ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าทุกข้อรายการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายหน่วยการเรียนรู้ พบว่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วรรณกรรมพื้นบ้าน :สื่อสานคุณธรรม และหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ความงามของภาษาจากเพลงระบำ ก.ไก่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ฝึกออกเสียงคำด้วยเพลงระบำ ก.ไก่ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภูมิปัญญาทางภาษา : เครื่องมือพัฒนาทักษะการคิด อันดับที่ 3 คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ในด้านภาพรวมของนวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนภาษาไทย จากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด และทุกข้อรายการมีผลการประเมินว่าเหมาะสม โดยข้อรายการ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 3 มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ข้อที่ 13 มีการประเมินทั้งกระบวนการและผลงานนักเรียน และข้อที่ 14 ประเมินตามสภาพจริง ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 7 การจัดกิจกรรมสอดคล้องกับวัยของผู้เรียน ข้อที่ 10 มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และข้อที่ 11 สื่อและแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับวัยและความสามารถของผู้เรียน


1.2 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1
มีความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก และทุกข้อรายการมีผลการประเมินว่าเหมาะสม โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 3 มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น และข้อที่ 5 มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ รองลงมามี 2 ข้อ ได้แก่ข้อที่ 6 และ ข้อที่ 12 มีกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 10 มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย


2. หาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/ E2 )
ประสิทธิภาพ (E1/ E2 ) ของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 แยกเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อยได้ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 82.55/82.30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 82.25/80.60
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 80.70/80.15 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 83.30/86.20 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 80.55/80.30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 82.15/81.70

ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนและก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรม ฯ
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียน กับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ตอนที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น